#Story4 The rise of product mindset

#Story4 The rise of product mindset

วันนี้มาคุยกันเรื่อง Mindsets ของ Product vs Project ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร และทำให้เราส่งมอบ product ที่ใช่ ถูกใจตลาดได้อย่างไรกันครับ ขอเริ่มจาก project mindset ก่อน

สมัยก่อนคำว่า project ไม่ได้เป็นคำที่ใช้กันมากนัก แต่ในยุคไม่กี่ทศวรรตหลังนี่เอง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กระบวนการและเครื่องมือใหม่ๆ ทำให้ Project กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ไปเห็นการทำงานแบบ result oriented และมีส่วนร่วมในการทำ software แบบ large scale ที่บริษัท Cisco Systems, Inc ทำให้เห็นภาพ project ใหญ่ๆเค้าทำกันยังไง project ส่วนใหญ่จะมีส่วนของ planning และส่วนของ executing และบทบาทของ Project Manager มีส่วนสำคัญมาก Project Manager มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน ค้นหาว่าจะทำอย่างไร ต้องทำอะไร ทำนานแค่ไหน และจะต้องใช้ budget เท่าใด และนี่คือสามเหลี่ยม Project Management นั่นคือ Scope, Time และ Budget

ในฐานะ project manager ที่ดี เราจะพยายามส่งมอบ project ให้ตรงเวลา ตาม scope และ budget แต่ถ้าลองคิดดูดีๆ project manager จะบริหาร project เป็นแค่กล่องๆนึงที่บรรจุ activities ทั้งหมดที่ต้องทำ และนำมาจัดเรียงตามลำดับ ดังนั้นเราจึง plan ทุกอย่าง ออกแบบทุกอย่าง ทำทุกอย่าง ทดสอบทุกอย่างและสุดท้ายเราก็ deliver ทุกอย่างที่เราทำ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ก็ดีไป แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเมื่อเวลาผ่านไป market รอบๆตัวเราจะไม่เปลี่ยนแปลง

แล้วเป็นไปได้ไม๊ที่ เราจะส่งมอบ product ตาม scope, time, และ budget แต่ก็ยังล้มเหลว ไม่ถูกใจตลาด ดูอย่าง Nokia ครับ พวกเค้าบอกว่าเค้าไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่ Nokia ก็สูญเสีย market share อยู่ดี. ไม่ว่าพวกเค้าจะรัน project ดีแค่ไหน มีประวัติในการสร้างโทรศัพท์มือถือที่ยอดเยี่ยมแค่ไหน แต่ถ้าตลาดเปลี่ยนไป ผู้คนอาจไม่ซื้อโทรศัพท์ของพวกเค้าอีกแล้ว ในปี 2007 iPhone ปรากฏตัวขึ้นในตลาดและเปลี่ยนทุกอย่างทันที ดังนั้นหากเราไม่สนใจการเปลี่ยนแปลง และไม่ปรับ scope เราก็จะสูญเสียตลาด เหมือน Nokia และ BlackBerry

ดังนั้นเราลองเลิกคิดแบบ “project mindset” และเปลี่ยนมาเป็น “product mindsets” ลองดู โดยเริ่มจาก market ก่อน ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ ปัญหาคืออะไร pain point ของพวกเขาคืออะไร และเราจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร โดยการทำแบบนี้ จะทำให้เราทราบ scope เมื่อเรามี scope แล้ว มันอาจจะมากเกินไปที่จะทำในเวลาอันสั้น ก็จะนำไปสู่คำถามที่ว่า อะไรคือ key features ที่ให้ value สูงสุดที่เป็นไปได้ อะไรคือ minimum viable product (MVP) ที่เราจะส่งมอบได้ หรือสิ่งที่เล็กที่สุดที่เราต้องทำเพื่อ validate assumptions ของเราเกี่ยวกับตลาด จากนั้นเราก็ลงมือทำเพื่อให้ได้ product ที่ใช้งานได้อย่างรวดเร็วให้กับตลาดเพื่อรวบรวม feedback และ feedback loop นี้เอง จะเป็นตัวขับเคลื่อน สามเหลี่ยมของ scope, time, budget โดยอัตโนมัติ โดยการปรับเปลี่ยน scope หรือ schedule และหาว่างบประมาณ budget ที่ต้องใช้ตลอดเวลาตาม market ที่เปลี่ยนไป นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า product mindset

คราวนี้ลองกลับไปดู project mindset กันอีกครั้ง เพราะมันยังเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติในบริษัทส่วนใหญ่ ก็คือ project manager คิดแผน scope, schedule และ budget และได้รับการอนุมัติโดย steering board หรือหน่วยงานอื่นๆ ในบริษัท จากนั้น 2–3 เดือนต่อมาก็เริ่มทำ project และในฐานะ project manager ที่ดีเราสามารถส่งมอบ product ได้ตรงเวลาตาม budget นี่เป็นเป็นเรื่องหลัก หากสิ่งที่เราทำ มันถูกต้องและถูกใจตลาด นั่นเป็นเรื่องรองลงมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ project manager จะไม่สนใจทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว หาก project ยังคงดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ตลาดได้เปลี่ยนไปแล้ว และถ้าเราไม่ยอมรับและจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เราก็จะกลายเป็นแบบอดีต Nokia ตัวต่อไป

สรุป

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้ตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับ product mindset เหนือ project mindset มันจะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ วันหลังเรามาคุยกันกันว่า จะทำอย่างไรถึงจะปรับเปลี่ยน mindset ขององค์กรได้

Stuff worth talking aboutFollowing